กลุ่ม พีจีเอส หจก.ผักอินทรีย์วังร่องร่วมใจ จ.เพชรบูรณ์

19/11/2020


    บ้านวังร่อง หมู่ที่ 5 ต.ห้วยไร่ อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ เป็นชุมชนขนาดกลาง ชาวบ้านทำการเกษตรเป็นอาชีพหลักเนื่องจากลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบและมีทรัพยากรแหล่งน้ำใต้ดินที่เพียงพอตลอดทั้งปีแต่เกษตรกรมีพื้นที่ต่อครัวเรือนไม่มากนัก ที่นี่จึงเลือกปลูกผักเป็นอาชีพหลักเพื่อสร้างรายได้และแบ่งพื้นที่บางส่วนทำนาเพื่อไว้บริโภคในครัวเรือนเป็นวิถีมาอย่างยาวนาน จนเกษตรกรที่นี่มีความเชี่ยวชาญด้านการปลูกผัก ทั้งด้านการดูแลผลผลิต การจัดการและการวางแผนที่สามารถให้ผลผลิตมีความต่อเนื่องตลอดทั้งปี

ก่อนเข้าร่วมต้นปี 2561
เกษตรกรบ้านวังร่อง นำโดยผู้นำชุมชน ท่านผู้ใหญ่บ้านไพทูลย์ อินหา เป็นแกนนำชักชวนพี่น้องเกษตรกรปรับเปลี่ยนวิถีการผลิตเข้าสู่ระบบอินทรีย์ โดยเริ่มต้นแบ่งพื้นที่มาทำเพียงบางส่วน และจัดตั้งเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์บ้านวังร่องได้ร่วมกันศึกษาค้นคว้าและทดลองเกี่ยวกับปัจจัยการผลิตอินทรีย์ที่เหมาะสมกับพื้นที่ จนปัจจุบันชุมชนได้กลายเป็นแหล่งเรียนรู้การทำปัจจัยการผลิตอินทรีย์ ตั้งแต่การเลี้ยงและผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือนการทำน้ำหมักชีวภาพในการป้องกันและกำจัดแมลง
   เกษตรกรในชุมชนยังไม่หลุดพ้นจากวงจรการผลิตแบบเคมีอย่างเด็ดขาดเนื่องจาก ตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ของกลุ่มยังไม่เปิดกว้าง ผลผลิตที่ผลิตในระบบอินทรีย์มีแหล่งจำหน่ายไม่เพียงพอ อีกทั้งหากจะนำไปจำหน่ายยังตลาดทั่วไปก็จะไม่ถูกรับซื้อเพราะลักษณะผลผลิตที่ใช้ปัจจัยการผลิตอินทรีย์จะมีขนาดและสีของใบไม่ตรงตามความต้องการจึงเป็นเหตุผลให้เกษตรกรยังคงต้องใช้ปุ๋ยเคมีในการผลิตเพื่อเป็นแหล่งรายได้จุลเจือครอบครัว

พ.ศ.2563
-เดือนพฤศจิกายน เข้าร่วม Lemon farm Organic PGS สมาชิก33ราย
-เดือนธันวาคม เกษตรอำเภอหล่มสัก ให้ความอนุเคราะห์ทำหนังสือรับรองการทำเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่ของสมาชิกก่อนที่จะเข้าร่วมโครงการ จำนวน 22ราย เพื่อลดระยะปรับเปลี่ยนให้เกษตรกรสารถส่งผลผลิตให้เลมอนฟาร์มได้เร็วขึ้น
-ทีมส่งเสริมเลมอนฟาร์ม ร่วมจัดทำระบบการบริหารงานกลุ่ม วางแผนการผลิตและพัฒนาศักยภาพร่วมกับเกษตรกรอย่างใกล้ชิด โดยมีเป้าหมายให้เกษตรกรสมาชิก21ราย มีผลผลิตที่สามารถส่งได้ในเดือนเมษายน2564 จำนวน300กก./สัปดาห์
-กลุ่มจดทะเบียนการค้า เป็น หจก.ผักอินทรีย์วังร่องร่วมใจ เพื่อการบริหารงานที่โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้


พ.ศ.2564
เดือนเมษายน อบรมการคัดคุณภาพและบรรจุ และกลุ่มได้เริ่มส่งผลผลิตครั้งแรก มีผลผลิตส่ง 200กก./สัปดาห์ ผลผลิตส่วนใหญ่เป็นผักสลัด รองลงมาคือผักปรุง และผักใบตามลำดับ และพัฒนาเพิ่มศักยภาพมาอย่างต่อเนื่องจนมีผลผลิตส่งเฉลี่ย300กก./สัปดาห์ ในช่วงเดือนมิถุนายน
-เดือนสิงหาคม กลุ่มมีผลผลิตส่งเพิ่มขึ้นสามารถนำส่งผลผลิตได้2รอบ/สัปดาห์ ปริมาณเฉลี่ย450กก./สัปดาห์
-เดือนพฤศจิกายน สมาชิกพ้นระยะปรับเปลี่ยนเป็นอินทรีย์ทั้ง33ราย กลุ่มมีศักยภาพเพิ่มขึ้นสามารถส่งผลผลิตได้เฉลี่ย 600กก./สัปดาห์ ผลผลิตมีความหลากหลายมากขึ้น ทั้งผักสลัด ผักปรุง ผักใบ ผักผล


ปัจจุบัน
เป็นกลุ่มที่มีระบบการบริหารจัดการที่ดี มีความเข้มแข็ง พัฒนาศักยภาพเพิ่มขึ้นมีผลผลิตส่ง 800 กก./สัปดาห์