คาร์โบไฮเดรตต่ำ (Low Carb)

11/01/2022

<< BACK

หลักเกณฑ์การคัดสินค้า
ลดปริมาณคาร์โบไฮเดรตลงเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์อื่นที่เป็นอาหารชนิดเดียวกันหรือคล้ายคลึงกัน โดยลดลงตั้งแต่ร้อยละ 25 ขึ้นไป

“คาร์โบไฮเดรต” เป็นสารอาหารหลักที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย จึงเป็นสิ่งที่ร่างกายขาดไม่ได้และต้องได้รับอย่างสม่ำเสมอ ร่างกายจะย่อยคาร์โบไฮเดรตเป็นน้ำตาลกลูโคสดูดซึมเข้สกระแสเลือด และนำไปใช้เป็นพลังงานแก่อวัยวะต่าง ๆ ส่วนน้ำตาลที่ร่างกายใช้ไม่หมดจะสะสมที่ตับและกล้ามเนื้อ นำออกมาใช้ยามจำเป็นแต่ถ้ากินคาร์โบไฮเดรตมากเกินไปก็จะไปสะสมเป็นไขมัน จึงควรควบคุมปริมาณและเลือกชนิดของคาร์โบไฮเดรตที่จะทานแทน
Low carb diet คือการกินอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำเพื่อลดน้ำหนัก คุมระดับน้ำตาลในเลือด ลดการเกิดเบาหวาน และลดการเกิดโรคหัวใจ จะเน้นกินโปรตีนเป็นหลัก 40-50% รองลงมาคือไขมัน 30-35% และคาร์โบไฮเดรต 15-25%
คาร์โบไฮเดรตมี 3 แบบ ได้แก่ น้ำตาล แป้ง และใยอาหาร ดังนั้นการกินอาหารคาร์โบไฮเดรตต่ำจึงไม่ใช่แค่ลดแป้งแต่ต้องลดการกินน้ำตาล และใยอาหารด้วย

ข้อดีและข้อเสียของ Low carb diet

ข้อดี : น้ำหนักลดลงไว ระดับน้ำตาลและไขมันในเลือดลด ความดันลด ลดเบาหวาน
ข้อเสีย : ไม่ควรทานระยะยาว เพราะมีงานวิจัยว่าจะได้รับวิตามิน แร่ธาตุ สารต้านอนุมูลอิสระ ไม่เพียงพอ


แนะนำให้กิน Low Carb Diet แค่ช่วงสั้นๆ ไม่แนะนำให้กินต่อเนื่องเกิน 2 ปี ทำให้สูญเสียโอกาส ในการกินถั่ว ธัญพืชเต็มรูปอุดมด้วยโปรตีนและไฟเบอร์ที่ดี เสียโอกาสได้รับวิตามินแร่ธาตุ สารต้านอนุมูลอิสระชั้นดีจากผักผลไม้ พืชหัวใต้ดิน

แล้วจะกิน Low Carb Diet อย่างไรให้สุขภาพดี
เมื่อ Low carb Diet จำกัดปริมาณการคาร์บที่ควรได้ในหนึ่งวัน ก็ควรเลือกแต่คาร์บที่ดีอย่าง “คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน” และ “แป้งต้านการย่อย” ที่ดีกับแบคทีเรียโพรไบโอติกในลำไส้ คุมระดับน้ำตาลในเลือด มีใยอาหารสูงย่อยช้า น้ำตาลในเลือดน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นช้าๆ หลีกเลี่ยงและจำกัดปริมาณคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว

คาร์โบไฮเดรตที่ดี (คาร์บเชิงซ้อน) : ข้าว ถั่ว ธัญพืชที่ไม่ผ่านการขัดสี หรือขัดสีเล็กน้อย ชะลอการย่อยและดูดซึมน้ำตาลกับไขมัน • ระดับน้ำตาลในเลือดคงที่ • อิ่มนาน ไม่หิวบ่อย • ใยอาหารสูง อาหารโพรไบโอติก ขับถ่ายดี

คาร์โบไฮเดรตไม่ดี (คาร์บเชิงเดี่ยว) : ข้าว ถั่ว ธัญพืชขัดสี น้ำตาลทรายขาว แป้งขัดขาว • น้ำตาลในเลือดขึ้นเร็ว • ใยอาหารต่ำ • หิวบ่อย หิวเร็ว • สารอาหารน้อย


แป้งต้านการย่อยคืออะไร ทำไมควรกินเป็นประจำ ช่วยลดการเกิดโรคอะไรบ้าง
แป้งต้านการย่อยคือ อาหารที่มีเส้นใยอาหารสูงมีประโยชน์กับสุขภาพ จะไม่ถูกย่อยจนกว่าจะไปถึงลำไส้ใหญ่ จึงจะไปถูกย่อยโดยเหล่าจุลินทรีย์ตัวดีในลำไส้ใหญ่ (Microbiome) จุลินทรีย์เหล่านี้ช่วยสนับสนุนให้มีสุขภาพดี เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ขับถ่ายดี ลดจุลินทรีย์ตัวร้ายที่ก่อโรคแนะนำให้กินแป้งต้านทานการย่อยประมาณ 20 กรัมต่อวัน

คาร์บไฮเดรตที่ดีหากินได้จากที่ไหนบ้าง

คาร์บเชิงซ้อน : มันฝรั่ง มันหวาน ข้าวโพด บัตเตอร์นัท ขนมปังโฮลวีท-โฮลเกรน โฮลวีทพาสต้า สเปลท ข้าวกล้อง ข้าวดอย จมูกข้าวสาลี ถั่วดำ ถั่วแดง ถั่วลันเตา ชิคพี ถั่วเปลือกแข็ง เลนทิล คีนัว โอ๊ต บาร์เลย์ บัควีท ข้าวฟ่าง ไซเลียมฮักส์ บรอคโคลี ผักใบเขียว แครรอท แอปเปิ้ล เบอร์รี่ กล้วย

แป้งต้านการย่อย : ข้าวโอ๊ตดิบ ข้าวหุงสุก ข้าวบาร์เลย์ ถั่วเมล็ดแห้ง แป้งมันฝรั่งดิบ มันฝรั่งสุก มันหวานสุก กล้วยดิบ

สินค้าสุขภาพดีที่เลมอนฟาร์ม Recommended

*.....Coming Soon.....*