โพรไบโอติก (Probiotic Foods)

16/01/2022

<< BACK

หลักเกณฑ์การคัดสินค้า
• อาหารที่มีจุลินทรีย์โพรไบโอติกชนิดที่ได้การรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาว่าเกิดผลดีต่อสุขภาพของผู้บริโภค
• โดยยังคงมีปริมาณจุลินทรีย์โพรไบโอติกที่ยังมีชีวิตอยู่ คงเหลืออยู่ในผลิตภัณฑ์ไม่น้อยกว่า 106 CFU ต่ออาหาร 1 กรัม ตลอดอายุการเก็บรักษาของอาหาร

คลิกเพื่อดู Infographic >>

 


โพรไบโอติกคืออะไรต่างกับพรีไบโอติกอย่างไร
โพรไบโอติกเป็นจุลินทรีย์มีชีวิต ในกระเพาะอาหารและลำไส้ ช่วยให้ลำไส้แข็งแรง เพิ่มแบคทีเรียชนิดดี ลดชนิดไม่ดีที่ทำให้ท้องอืด ท้องเสีย สร้างสารก่อมะเร็ง สารกลิ่นเหม็น ภูมิคุ้มกันก็แข็งแรง
พรีไบโอติกส์ = อาหารของโพรไบโอติกส์ เป็นใยอาหารทำให้โพรไบโอติกส์เจริญเติบโตได้ดีพบมากใน แก่นตะวัน, กระเทียม,ผักตระกูลหอม, กะหล่ำปลี, อะโวคาโด, แอสพารากัส แอปเปิ้ล, กล้วย, น้อยหน่า, แตงโม, เกรปฟรุ๊ต ถั่วชิคพี, ถั่วเลนทิล, ถั่วขาว, ถั่วเหลือง, ถั่วแดง,แฟล็กส์ซี๊ด, ข้าวบาร์เล่ย์, รำข้าวสาลี,ข้าวโอ๊ต, อัลมอนด์, พิตาชิโอ้, โกโก้, สาหร่ายทะเล

กินโพรไบโอติกอย่างไรให้เห็นผลมากที่สุด
• กินวันละ 1-2 ครั้ง
• กินอย่างน้อย 2 สัปดาห์
• เลือกหมักธรรมชาติ ไม่เติมน้ำตาล วัตถุปรุงแต่งสังเคราะห์ สี กลิ่น สารกันเสีย

วิธีปรุงอาหารที่ดีเพื่อให้เชื้อโพรไบโอติกลดน้อยลงที่สุด
เนื่องจากโพรไบโอติกอ่อนไหวกับความร้อน แนะนำให้ปรุงที่ความร้อนไม่เกิน 60◦C และใส่ลงไปเป็นอย่างสุดท้ายในขั้นตอนการปรุงอาหาร จะทำให้เชื้อคงอยู่มากที่สุด