ถั่วแดงหลวง ถั่วดำ ธัญพืชอินทรีย์ สร้างรายได้ร้ายสู่ชุมชน รักษาป่าอย่างยั่งยืน จ.แม่ฮ่องสอน

29/11/2022

ชุมชนบ้านผาเจริญ อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน ชุมชนเล็กราว 30 ครอบครัว พื้นที่ 80% ของชุมชนเป็นพื้นที่ภูเขาลาดชันในพื้นที่ป่าต้นน้ำติดชายแดนพม่า ในอดีตเป็นพื้นที่ปลูกพืชสารเสพติดและข้าวโพดเคมี ไร่เลื่อลอยในชุมชนนับร้อยไร่ พื้นที่ป่าถูกบุกรุกเพื่อทำพืชเคมีหมุนเวียนไปเรื่อยๆ จนชุมชนล้อมรอบด้วยพื้นที่การเกษตรเคมี เกิดปัญหาหนี้สินครัวเรือน รายได้ไม่เพียงพอต้องออกจากชุมชนไปหางานทำในเมือง

ปี 2535 เริ่มปลูกพืชเมืองหนาวจากการส่งเสริมจากโครงการหลวง ได้แก่ ลูกไหน ลูกพลัม ลูกพลับ อะโวคาโด ถั่วแดงหวงล ถั่วดำ และข้าว ที่ปลูกสำหรับบริโภคในชุมชนแบบวิถีดั้งเดิม จนถึงเมื่อปี 2550 กรมป่าไม้และหน่วยงานราชการเข้ารังวัดพื้นที่ภูเขากำหนดเขตพื้นที่ทำกินให้ชาวบ้าน ห้ามมีการบุกรุกเพิ่มเติม ถือว่าเป็นมาตรบานหยุดการบุกรุกพื้นที่ป่าเพิ่มเติมได้ แต่ในพื้นที่ยังคงมีการทำพืชเคมีรายรอบพื้นที่ชุมชน โดยมีพื้นที่ภูเขาครอบครัวละ 8-10 ไร่

   เมื่อผลไม้เมืองหนาวเริ่มให้ผลผลิตมากขึ้น เกษตรกรรวมตัวจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนการผลิตและแปรรูปไมผลเมืองหนาวเกษตรอินทรีย์บ้านผาเจริญ อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน เพื่อรวมกลุ่มผลิตผมไม้เมืองหนาว แต่ยังประสบปัญหาด้านตลาด ร่วมพัฒนาคุณภาพร่วมกับตลาดเลมอนฟาร์ม ภายใต้มาตรฐาน Lemon Farm Organic PGS (กลุ่มเกษตรอินทรีย์ พีจีเอส บ้านผาเจริญ) ตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นมา
   พื้นที่ภูเขา นอกจากจะเป็นพื้นที่ปลูกไม้ผลเมืองหนาวแล้ว สมาชิกมีการผลิตข้าวดอยแบบวิถีดั้งเดิมและพัฒนาสู่มาตรฐานอินทรีย์ Lemon Farm Organic PGS และหมุนเวียนพื้นที่ที่เหลือปลูกถั่วแดงหลวงอินทรีย์ และถั่วชนิดอื่นๆ บนพื้นที่สูงเนื่องจากอากาศเย็น ระบายน้ำดีเหมาะแก่การปลูกธัญพืชแบบวิถีดั้งเดิม
   ในแต่ละปีก่อนถึงฤดูกาลจะมีการปลูกปอเทืองก่อนฤดูกาลปลูกธัญพืช ข้าวดอย เพื่อปรับปรุงบำรุงดินและเพิ่มธาตุอาหาร มีการหมุนเวียนสลับแปลงปลูกทุกปีโดยไม่ทำลายพื้นที่ป่าชุมชนเพิ่ม สมาชิกมีรายได้เสริมจากผลผลิตผลไม้เมืองหนาว คนในชุมชนมีอาชีพ มีรายได้ที่เพียวพอไม่ต้องออกจากชุมชนไปหารายได้ต่างถิ่น

ผลของการผลิตธัญพืชอินทรีย์จากแนวคิดทำน้อยได้มาก ทำให้ชุมชนมีพื้นที่ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ปลูกป่าคืนพื้นที่เป็นป่าของชุมชน จากการเลิกการผลิตพืชเคมีจาก8-10 ไร่ เหลือพื้นที่ทำข้าว ธัญพืชเพียง 1-2 ไร่ต่อคน ลดลงจากเดิม 4-5 เท่า และรวมพื้นที่ให้เป็นแปลงเดียวกันช่วยกันปลูกดูแลร่วมกัน และชาวบ้านในมีแหล่งอาหาร ข้าว ธัญพืชที่ปลูก และแหล่งอาหารธรรมชาติที่หาได้จากป่าชุมชนที่ร่วมกันอนุรักษ์ได้ตลอดทั้งปี...

ซื้อถั่วแดงอินทรีย์ CLICK>>
ซื้อถั่วดำอินทรีย์ CLICK>>